วันรำลึก Thinking Day

วันรำลึก (Thinking Day)

องค์การผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งโลกได้กำหนดให้มีวันรำลึก (Thinking Day) เพื่อผู้บำเพ็ญประโยชน์ทั่วโลกในประเทศต่างๆ จะได้ส่งข่าวสารส่งใจระลึกถึงผู้ก่อตั้งกิจการและส่งใจระลึกถึงกันและกัน วันรำลึกคือวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ที่กำหนดให้เป็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ด้วยเป็นวันคล้ายวันเกิดของผู้ก่อตั้งกิจการลูกเสือและกิจการผู้บำเพ็ญประโยชน์คือท่านลอร์ด โรเบิร์ต บาเดน โพลล์ และเป็นวันคล้ายวันเกิดของ เลดี้ บาเดน โพลล์ ประมุขผู้บำเพ็ญประโยชน์โลก

ในวันรำลึกเราจะร่วมกันบริจาคเงิน เรียกว่า เงินกองทุนวันรำลึก ส่งไปยังองค์การผู้บำเพ็ญประโยชน์      แห่งโลก

เงินกองทุนวันรำลึกได้นำไปช่วยสร้างสรรค์ให้โลกน่าอยู่มากกว่าเดิม โลกที่จะมีแต่สันติสุขอันจะเกิดขึ้นจากความเข้าใจซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นจากการที่สมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์ได้ร่วมทำกิจกรรม เรียนรู้ และรู้จักการให้แก่ผู้อื่น สร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนเด็กๆ ให้มีโอกาสเจริญเติบโตด้วยความเอาใจใส่ดูแลของผู้ใหญ่ เด็กๆ จะมีอนาคตแจ่มใสมากขึ้นในโลกของอิสรภาพและประชาธิปไตย

องค์การผู้บำเพ็ญประโยชน์โลกได้รับเงินกองทุนวันรำลึกจากองค์การผู้บำเพ็ญประโยชน์ในประเทศต่างๆ เงินบริจาคเหล่านี้ทำให้เกิดโครงการ กิจกรรม ที่จะส่งไปถึงผู้ต้องการความช่วยเหลือ ถ้าไม่ได้รับเงินบริจาคในวันรำลึก โครงการกิจกรรมเหล่านั้นก็จะไม่สำเร็จลงได้

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ผู้บำเพ็ญประโยชน์ ณ ที่ต่างๆ ทั่วโลก ระลึกถึงกันเปรียบกับมีห่วงทองคล้องใจให้เรารวมกันเป็นหนึ่งเดียวกัน ร่วมทำกิจกรรมและบริจาคเงินเพื่อกองทุนวันรำลึกเท่ากับเราสร้างโลกที่เราอยู่อาศัยให้มีความสันติ

ในที่ประชุมองค์การโลก  ครั้งที่  4  ที่จัดขึ้น   ณ   ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี  1926   ผู้แทนสมาชิก

ผู้บำเพ็ญประโยชน์ทั่วโลก ซึ่งอยู่ในประเทศต่างๆ จะได้ส่งข่าวสารและส่งใจระลึกถึงกันและกัน ซึ่งข้อเสนอนี้ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี และที่ประชุมได้เลือกวันที่จะใช้เป็นวันรำลึกว่าควรจะเป็นวันไหน ในที่สุดตกลงว่าควรจะใช้วันที่ 22 กุมภาพันธ์ เพราะว่าเป็นวันที่ดียิ่ง เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันเกิดของ  ผู้ก่อตั้งลูกเสือคือ ท่าน Lord Baden-Powell (22 ก.พ.1857)  และเป็นวันคล้ายวันเกิดของ Olave Baden-Powell ประมุขผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งโลกด้วย (22 ก.พ. 1889) (From The Girl Guides Gazeue, Vol XIV, No 158, February 1972 By Rose Kerr)

งานเฉลิมฉลองวันรำลึกครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 1927 จนปัจจุบัน ผู้บำเพ็ญประโยชน์ทั่วโลกยังคงจัดงานเฉลิมฉลองวันรำลึกและสืบทอดเจตนารมณ์ที่จะส่งใจระลึกถึงกันและกัน  ซึ่งในปัจจุบันมีสมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์อยู่ 145 ประเทศทั่วโลก จำนวน มากกว่า 10 ล้านคน

การจัดงานเฉลิมฉลองวันรำลึกไม่มีแบบอย่างว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งการจัดก็แล้วแต่ประเพณีหรือการพัฒนาปรับปรุงของแต่ละประเทศ เช่น อาจจะมีการจัดปาร์ตี้ซึ่งมีเนื้อหา เป็นสากลว่า ให้ตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อมองดูแสงอาทิตย์แรกขึ้น หรือมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษ แก่ผู้อื่น แต่อย่างไรก็ตามการจัดงานวันรำลึกนั้น ก็เพื่อจะเน้นให้ผู้บำเพ็ญประโยชน์คิดถึงผู้อื่น  (Thinking of others) ผู้บำเพ็ญประโยชน์ในหลายประเทศจัดงานวันรำลึกขึ้น โดยการออกไปบำเพ็ญประโยชน์ตามที่ต่างๆ

ในการประชุมองค์การโลกครั้งที่ 7 ที่ประเทศโปแลนด์ ในปี ค.ศ. 1932  หัวหน้าหมวดผู้บำเพ็ญประโยชน์จากประเทศเบลเยี่ยมคนหนึ่ง ได้เสนอ ให้มีการเก็บเงินคนละ 1 เพนนี หรือตามแต่จะบริจาค เพื่อจัดตั้งเป็นกองทุนวันรำลึกซึ่งเงินกองทุนนี้จะใช้เพื่อช่วยเหลือพี่น้องผู้บำเพ็ญประโยชน์ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันสมาชิก       ผู้บำเพ็ญประโยชน์ทั่วโลกจะบริจาคเงินตามแต่กำลังทรัพย์ของตนในวันรำลึกทุกๆ ปี เรียกว่า Thinking Day Fund แล้วส่งเงินไปยังองค์การโลก เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป ส่วนใหญ่จะเป็นการช่วยเหลือประเทศที่ยากจน หรือประเทศที่ประสพภัยพิบัติต่าง ๆ และเงินส่วนหนึ่งจะแบ่งให้ในโครงการเกี่ยวกับการฝึกอบรม

 thinking day

 

เครื่องหมายวันรำลึก มีความหมายดังนี้

เครื่องหมายองค์การโลกตรงกลางวงกลม แทน องค์การผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งโลก

รูปลูกศรพุ่งวนเข้าหาจุดศูนย์กลาง หมายถึง กิจกรรมทั้งหลายของคณะผู้บำเพ็ญประโยชน์ที่มีอยู่หลากหลาย และมีแนวกำหนดทิศทางในการดำเนินการที่แน่นอน

ลูกศร หมายถึง แนวทางและวิธีการต่าง ๆ ที่สมาชิกทุกคนสามารถให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนองค์การโลกได้

Scroll to Top