ประวัติสมาคมฯ

ประวัติสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์

กนก สามเสน วิล

เรื่องการก่อตั้งสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทยนั้น พี่ขอเล่าประวัติเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ดังนี้

จุดเริ่มต้น

เมื่อได้รับเชิญจากองค์การสตรีที่เรียกว่า Committee of Correspondence ให้ไปร่วมสัมมนาที่นครนิวยอร์ค เมื่อ ปี ค.ศ. 1956 (พ.ศ. 2499) ทางองค์การนั้นได้จัดให้ผู้เข้าสัมมนาไปดูกิจการขององค์กรเอกชนและส่วนราชการหลายแห่งที่ทำงานเกี่ยวกับสังคมสงเคราะห์เรื่องสตรีและเรื่องเด็ก องค์กรหนึ่งที่ได้ไปเยี่ยมดูและไปร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับกรรมการ คือ องค์กรลูกเสือหญิงซึ่งมีชื่อเต็มว่ The Girl Scouts

Association of the U.S.A. ได้คุยกับกรรมการ ได้ดูรูปภาพที่เขาติตฝาผนังไว้ก็รู้สึกว่าน่าสนใจ เมื่อตอนขากลับก็จำได้ แต่ละคนทำงานที่นั่นแต่งตัวเก๋ดี และดูเป็นคนน่ารักมาก

เมื่อกลับมาถึงเมืองไทย พบอาจารย์นิลวรรณ ปิ่นทอง ได้ทราบว่าขณะนี้หนังสือพิมพ์ดรุณสารที่เคยจะทำนั้นก็ใด้ทำออกมาแล้ว และยังพ่วงสโมสรปรียามาด้วย ขณะนั้นสโมสรปรียามีสมาชิกทั้งเด็กหญิงเด็กชายอยู่หลายกลุ่ม มีสองกลุ่มที่พี่ถนัดและสนใจเป็นพิเศษก็คือกลุ่มบำเพ็ญประโยชน์และกลุ่มดนตรี จึงรับอาสาเป็นผู้ดำเนินงานกลุ่มทั้งสองนี้ให้

         ขณะนั้นพี่เป็นกรรมการสมาคมสตรีอุดมศึกษาอยู่ด้วย จึงนำกลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ของสโมสรปรียาไบชุมนุมกันที่สมาคมสตรีอุดมศึกษา ถนนรองเมือง ชอย 5 และกลุ่มดนตรีก็ชุมนุมกันที่สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน ถนนพญาไท

หลังจากได้มีกิจกรรมไปประมาณ 3 – 4 ครั้ง ได้นำเรื่องลูกเสือหญิงของอเมริกามาเล่าให้สมาชิกกลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ฟัง สมาชิกในกลุ่มก็สนใจกันมาก และแสดงความกระตือรือร้นใคร่จะได้เป็นบ้าง จึงนำเรื่องนี้ปรึกษาคณะกรรมการสมาคมสตรีอุดมศึกษาขณะนั้นมีอาจารย์สมัยสวาท พงศทัต เป็นนายกสมาคมฯ คณะกรรมการเห็นชอบด้วยกับการจะทดลองดู อำจารย์นิลวรรณก็ไม่ขัดข้อง เราจึงติดต่อไปยัง Committee of Correspondence ให้ช่วยหาเอกสารมาเพื่อศึกษาและเป็นแนวทาง องค์รนี้ได้ติดต่อไปยังสมาคมลูกเสือหญิงแห่งโลก ภายในเวลาสองอาทิตย์เราก็ใด้รับหนังสือคู่มือต่างๆ จากสมาคมลูกเสือหญิงแห่งสหรัฐอมริกา นอกจากนั้นสมาคมลูกเสือหญิงแห่งสหรัฐอเมริกายังได้ติดต่อแจ้งไปให้องค์การโลก (Warld Association of Girl Guides and Girl Scouts : WAGGGS) ทราบด้วย และเราก็ได้รับจดหมายติดต่อจากองค์การโลกทันที

ต่อมา Miss Helen Mc. Swinney ก็เดินทางมาในฐานะเป็นผู้แทนของผู้อำนวยการองค์การโลก (ขณะนั้นคือ Dame Leslie Whateley D.B.E.) Miss Mc.Swinney ได้ทดลองฝึกสมาชิกกลุ่มหนึ่งซึ่งสนใจจะเป็นหัวหน้าหมวด Guiders) ในเวลาเย็น ก่อนจะเดินทางไปยัง World Camp ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศ Philippines การทดลองฝึกในวันนั้นทำให้ผู้รับการฝึกสนุกสนานมาก จึงตกลงกันว่าเราจะจัดการฝึกหัวหน้าหมวดเสียก่อน โดยองค์การโลกจะส่งผู้ฝึกมาให้

การฝึกหัวหน้าหมวดครั้งแรก

ในเดือนมีนาคม 2500 องค์การโลกได้ส่ง Miss Mildred Mode ซึ่งทำหน้าที่เป็น Travelling Commis – sioner ของภาคเอเชีย และ Miss Marie De Figuered จากฮ่องกงมาช่วยฝึก มีผู้เข้าฝึกทั้งสิ้น 19 คน แต่มีผู้สอบผ่านและทำพิธีปฏิญาณตนโดยถูกต้อง 18 คน ทำการฝึกที่สมาคมสตรีอุดมศึกษา ถนนรองเมือง Miss Mc. Swinney เป็นผู้ทำพิธีปฏิญาณตน

การเปิดหมวดแรก

เมื่อเราได้ฝึกหัวหน้าหมวดแล้ว จึงเปิดหมวดสมาชิกหมวดแรก คือกลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ของสโมสรปรียา มีสมาชิกเป็นเด็กหญิงจำนวน 18 คน และได้สอบผ่านทำพิธีปฏิญาณตน 11 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2501 สมาชิกหลายคนของหมวดนี้ ต่อมาได้เข้ารับการฝึกเป็นหัวหน้าหมวดหลายคนยังช่วยงานสมาคมฯ อยู่อย่างแข็งขัน

การตั้งชื่อและเครื่องแบบ

ขณะนี้เราเรียกว่าสมาชิกหมวดแรกนี้ว่า กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์เป็นกิจกรรมทดลองของสมาคมสตรีอุดม

ศึกษา  ร่วมกับสโมสรปรียา และสมาชิกกลุ่มแรกนี้เป็นผู้ลงคะแนนเสียงให้เรียกว่า “ผู้บำเพ็ญประโยชน์” ตามเดิม เพราะเห็นว่าเป็นชื่อที่แสดงความหมายที่เข้าใจ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าเสด็จในกรมหมื่นนราชิปฯ รองนายกรัฐมนตรี ได้ขอประทานข้อคิดเห็นถึงชื่อว่าอย่างใดจะเหมาะสมมากกว่า ก็ทรงเห็นว่า คำว่า “ผู้บำเพ็ญประโยชน์” ถึงจะยาวไปหน่อยแต่ก็ได้ความหมายดี เหมาะกับเรื่องราวดีอยู่แล้ว

นอกจากตั้งชื่อแล้วเยาวสมาชิกหมวดแรก ยังเป็นผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย โดยใช้เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ คือ สมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์รุ่นกลาง ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า (Girl Guides) เพื่อความประหยัดให้ใช้กระโปรงนักเรียนสีกรมท่า สวมเสื้อเชิ้ตสีฟ้าอมเทา เพื่อความสบายจึงใช้เสื้อเชิ้ตแขนสั้น เพื่อความเก๋และความสง่า ให้สวมหมวกเบเร่ห์สีกรมท่ มีตราสมาคมฯ สีแดงใบผักเบี้ยสีทองติดที่หน้าหมวก ผ้าพันคอสามเหลี่ยมสีน้ำเงิน พับผูกเป็นเนคไท มีเข็มปฏิญาณตนติดกลางเนคไท คาดเข็มขัดสีดำ หัวเข็มขัดเป็นตราผักเบี้ย ใส่รองเท้านักเรียน สำหรับสมาชิกรุ่นใหญ่ ให้ใช้กระโปรง 4 ชิ้น สีฟ้าอมเทาเช่นเดียวกับเสื้อ หัวหน้าหมวดใส่กระโปรงสีฟ้าอมเทา ตัดแบบหกชิ้น กระเป๋าสองข้าง เครื่องหมายอื่นๆ เหมือนกับสมาชิกทั้ง 2 รุ่น

การจดทะเบียนเป็นสมาคม

เนื่องจากสมาคมสตรีอุดมศึกษาเป็นสมาชิกสหพันธ์สมาคมสตรีอุดมศึกษาระหว่างประเทศ จำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์พิเศษ และกฎหนึ่งก็คือ สมาชิกของสมาคมต้องเป็นผู้จบมหาวิทยาลัยหรือผ่านมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 2 ปี ฉะนั้น จึงเห็นว่าถ้าจะให้กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ได้มีการขยายกิจการกว้างขวางจะต้องหาสมาชิกมาเพิ่ม และสมาชิกส่วนมากคือคนธรรมดา ซึ่งไม่ได้ผ่านการศึกษาถึงขั้นบริญญา ถ้าเราประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกองค์การผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งโลก ก็จำเป็นต้องยึดหลักการใหญ่ในข้อหนึ่งนั้น  คือ ต้องเป็นอิสระอนุกรรมการขณะนั้นจึงมีมติให้แยกกลุ่มผู้บำเพ็ญประโยชน์จากสมาคมสตรีอุดมศึกษา และตั้งเป็นสมาคมฯ โดยเอกเทศขึ้น ได้เชิญ คุณหญิงดุษฎีมาลา มาลากุลฯ มาร่วมดำเนินงานทั้งนี้โดยได้รับทราบจากองค์การโลกว่า คุณหญิงดุษฎีมาลา มาลากุลฯ เป็นผู้หนึ่งที่สนใจและได้เคยติดต่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินกิจการนี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 คุณหญิงดุษฎีมาลามาลากุลฯ ยินดีร่วมด้วย ได้มีการปรึกษาหารือเพื่อก่อตั้งสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ฯ สำหรับดำเนินกิจการซึ่งตรงกับ Girl Guides หรือ Girl Scouts

คณะผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมฯ ประกอบด้วย

  1. คุณหญิงดุษฎีมาลา   มาลากุล ณ อยุธยา(1)   (ต่อมา คือ ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา)
    1. นางสาวนิลวรรณ     ปิ่นทอง(2)         (ต่อมา คือ คุณนิลวรรณ ปิ่นทอง)
    1. นางสาวกนก          สามเสน(3)         (ต่อมา คือ คุณหญิงกนก สามเสน วิล)
    1. นางสุภัทรา            สิงหจกะ(4)         (ต่อมา คือ คุณหญิงสุภัทรา สิงหจกะ)
    1. นางสาวดวงเดือน      พิศาลบุตร(5)    (ต่อมา คือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ คุณดวงเดือน พิศาลบุตร)
    1. นางชลอจิต            ดุลยกนิษฐ
    1. นางยีน                 ศรีจันทร์
    1. นางสาวบรรจบ       พันธุเมธา(6)               (ต่อมา คือ ศาสตราจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา)
    1. นางสาวรัญจวน       อินทร์กำแหง(7) (ต่อมา คือ ศาสตราจารย์คุณรัญจวน อินทร์กำแหง)
    1. นางเทวี                รัชตานนท์(8)               (ต่อมา คือ ศาสตราจารย์เทวี รัชตานนท์)

คณะริเริ่มได้ยื่นขอจดทะเบียนตั้งสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทยฯ เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2501 โดยมีชื่อเรียกภาคภาษาอังกฤษว่า The Girl Guides Association of Thailand ได้รับอนุญาตจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2501 และได้จดทะเบียนต่อตำรวจสันติบาล เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2501 สมาคมฯ ได้จัดการประชุมใหญ่ครั้งแรกเมื่อ 31 พฤษภาคม 2500 มีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นสุภาพสตรี 72 คน และเยาวสตรี 90 คน ที่ประชุมได้พิจารณาข้อบังคับของสมาคมฯ และทำการเลือกตั้งคณะกรรมการอำนวยการชุดแรกจำนวน 24 คน คุณหญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา และได้มีการปฏิบัติงานในฐานะเป็นสมาคมฯ โดยเอกเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง ดังนี้

วัตถุประสงค์ของสมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์ฯ

  1. อบรมเยาวสตรีให้เป็นพลเมืองดี มีความผาสุกในการดำรงชีวิต และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ทั่วไป ตามหลักการขององค์การผู้บำเพ็ญประโยชน์สากล
  2. ให้การศึกษาแก่เยาวสตรี เพื่อสามารถพัฒนาตนเองทั้งในด้านเศรษฐกิจ อนามัยและสังคม
  3. ส่งเสริมการเป็นมิตรที่ดีต่อกันระหว่างสตรีทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  4. ส่งเสริมสัมพันธภาพ และความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างสมาคมฯ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน
    หรือคล้ายคลึงกันทั้งภายในและนอกประเทศ

กลุ่มนิสิตนักศึกษาที่ได้รับการฝึกและปฎิญาณตนแล้วเปิดหมวด คำว่าหมวด สหราชอาณาจักร ใช้คำว่า Company สหรัฐอเมริกาใช้คำว่า Unit ผู้ที่ได้รับการฝึกเป็นหัวหน้าหมวดแต่ไม่ได้เปิดหมวดใช้คำว่า Guiders แต่เมื่อมีเยาวสมาชิกในหมวด หัวหน้าหมวดใช้คำว่า Captains ต่อมาเปลี่ยนเป็น Unit Leaders เด็กผู้หญิงที่มาสมัครเป็นสมาชิกผู้บำเพ็ญประโยชน์ครั้งแรกก็จะเป็น Girl Guides คือรุ่นกลาง ส่วนรุ่นใหญ่เป็นนักเรียนประมาณมัธยมปลาย เรียกว่า Senior Guides

นับตั้งแต่ตั้งสมาคมฯ กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ก็กว้างขวางขึ้น ขยายการเปิดหมวดผู้บำเพ็ญประโยชน์ไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

ใส่ความเห็น

Scroll to Top